ฝุ่นละออง PM2.5 (Particulate matter) คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ อาจอยู่ในสภาพของของเหลวหรือของแข็งขนาดเล็กที่กระจายอยู่ในอากาศ ทำให้มองเห็นเป็นลักษณะหมอก หรือควัน โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการทางอุตสาหกรรม
(ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/Content/44590- (ที่มา : https://news.thaiware.com/12547.html)
สูด%20‘ฝุ่นละออง’%20ต่อโรคทางเดินหายใจ.html)
หากสูดดมฝุ่นละออง PM2.5 เข้าไปในปริมาณมากส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย เนื่องจากสามารถเข้าไปถึงระบบภายในร่างกายโดยผ่านขนจมูกและโพรงจมูก ทำให้ฝุ่นละอองชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง เช่น
- โรคหัวใจและหลอดเลือด อาจทำให้เกิดเหตุรุนแรงเฉียบพลันกับกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดภาวะหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นแรงขึ้น อัตราการผันแปรการเต้นของหัวใจลดลง ตลอดจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดการตายจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
- โรคระบบทางเดินหายใจ ฝุ่นละอองในอากาศถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบ ได้แก่ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด
- โรคเกี่ยวกับสมอง พบว่าหากร่างกายได้รับฝุ่นละอองสะสมไว้นานๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้ความดันโลหิตและความหนืดของเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในสมองได้
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ฝุ่นละออง PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และยังเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
(ที่มา : https://www.prachachat.net/marketing/news-278854)
ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยประสบกับปัญหาวิกฤติฝุ่นละออง PM2.5 อย่างหนัก เนื่องจากค่าฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าเกินมาตรฐาน จนอยู่ในระดับส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน กระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำวิธีป้องกันตัวเองจากฝุ่นละออง PM2.5 เพื่อเป็นแนวทางให้ประชาชนปฏิบัติสำหรับป้องกันฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกายได้อย่างถูกต้อง โดยมี 5 มาตรการ “หลีก ปิด ใช้ เลี่ยง ลด” คือ
1. หลีกการสัมผัสฝุ่นละออง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด ภูมิแพ้
(ที่มา : https://www.thaihealth.or.th/Content/29420- (ที่มา : https://www.amarinbabyandkids.com/parenting/baby/baby-3/) เพิ่มคลินิกผู้สูงอายุ%20ลดโรคเรื้อรัง.html)
2. ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิด ป้องกันฝุ่นละออง หมั่นทำความสะอาดบ้านทุกวัน
(ที่มา : http://www.baanlaesuan.com/135033/ (ที่มา : https://decor.mthai.com/home-idea/
diy/easy-tips/protect-from-dustpollution) tips-home-idea/53769.html)
3. ใช้หน้ากากที่มีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ เช่น N95, P100
(ที่มา : https://www.monotaro.co.th/p/36022691/) (ที่มา : http://timeout.siamsport.co.th/health/view/110620)
4. เลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำงานนานกว่า 12 ชั่วโมงในที่โล่งแจ้ง
(ที่มา : https://health.campus-star.com/general/18993.html) (ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/567858)
5. ลดการใช้รถยนต์ และการเผาขยะ
(ที่มา : https://health.kapook.com/view205013.html) (ที่มา : https://mgronline.com/crime/detail/9570000047037)
อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพควรป้องกันและดูแลสุขภาพของตัวเองให้ถูกวิธี หากมีอาการผิดปกติหลังสูดดมฝุ่นละออง PM2.5 เช่น หายใจติดขัด แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ หรือหมดสติ ควรรีบไปพบแพทย์ ซึ่งประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศแบบ realtime ของกรมควบคุมมลพิษได้ทางแอปพลิเคชัน Air4Thai หรือเว็บไซต์ http://air4thai.pcd.go.th
เอกสารอ้างอิง
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562].
เข้าถึงจาก : http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. มลพิษจากอนุภาคฝุ่นละออง อันตรายคุกคามในอากาศ. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562].
เข้าถึงจาก : https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/February-2018/air-pollution-threat
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สธ. แนะ 5 มาตรการป้องกันฝุ่นละออง. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562].
เข้าถึงจาก : https://www.thaihealth.or.th/Content/40849-สธ.แนะ%205%20มาตรการ%20ป้องกันฝุ่นละออง.html