ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

ชื่อสามัญ :  Mangosteen

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn.

วงศ์ :  CLUSIACEAE (GUTTIFERAE) เช่นเดียวกับกระทิง ติ้วเกลี้ยง ติ้วขน ชะมวง บุนนาค มะดัน มะพูด รงทอง ส้มแขก และสารภี

ชื่อท้องถิ่น : แมงคุด มังคุด

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์.-

ต้น :-  
ลำต้นตรง เปลือกภายนอกมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ภาคในเปลือกประกอบไปด้วยท่อน้ำยางมีลักษณะสีเหลือง
ใบ :-  
ใบมีรูปยาว หนา มีความยาวประมาณ 9-25 ซม. กว้างประมาณ 4.5-10 ซม. ด้านบนมีลักษณะเป็นมันสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างสีเขียวปนเหลือง แผ่นใบโค้งเล็กน้อย มีตาข้างอยู่บริเวณซอกใบ และมีตายอดอยู่บริเวณซอกใบคู่สุดท้าย
ดอก :-  
เป็นแบบเดี่ยวและบางสภาพอาจเป็นดอกกลุ่ม ซึ่งดอกจะปรากฎที่บริเวณปลายยอดของกิ่งแขนง ที่มีช่อดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันดอกจัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศแต่เกสรตัวผู้จะเป็นหมัน ดอกตัวผู้สีเหลืองอมแดงหรือสีม่วงแดงเข้ม ดอกมังคุดประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 4 กลีบ มีกลีบดอกค่อนข้างหนา 4 กลีบดอก เกสรอยู่ที่ฐานรอบๆ ของรังไข่
ผล :-  
เป็นแบบเบอรี่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.4-7.5 ซม. มีเปลือกหนา 6-10 ซม. เนื้อสีขาวขุ่นลักษณะของผลอ่อนเปลือกนอกจะมีสีเขียวปนเหลือง มียางสีเหลืองอยู่ภายใน ผลหนึ่งๆ จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-6 เมล็ด เมล็ดมีความยาวประมาณ 2.5 ซม. และกว้างประมาณ 1.6 ซม.ผลหนึ่งๆ มีเมล็ด 5 - 8 เมล็ดมีรก (Arill) สีขาวหุ้มอยู่ เป็นส่วน ที่ใช้รับประทาน มีรสหวานอมเปรี้ยว

ส่วนที่ให้สี :-  
เปลือกของผล ใบ  
สีที่ได้ :-  
ชมพู  ส้ม  ม่วง  เขียวขี้ม้า  
วิธีการย้อม :-  
  1. ต้มเปลือกมังคุดสดกับน้ำผสมโซดาซักผ้า 3 เปอร์เซ็นต์ ได้น้ำสีม่วง
  2. ย้อมเส้นไหมแบบย้อมร้อน แล้วแช่เส้นไหมในน้ำจุนสี ได้สีเขียวขี้ม้า
     สีที่ได้จากการย้อมสีจะไม่ซีดจางเมื่อถูกแสง มีระดับความคงทนต่อแสงระดับดีมาก สีไม่ตกและสีไม่เปลี่ยน เมื่อทดสอบการซัก