ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn.
วงศ์ : PAPILIONEAE
ชื่อท้องถิ่น : คราม (ไทย), คาม (เหนือ, อีสาน) ครามย้อม (กรุงเทพฯ)
 

 

 

 

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :-  
จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขามาก บ้างว่าแตกกิ่งก้านน้อย มีความสูงของต้นประมาณ 4-6 ฟุต หรือสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลมสีเขียว มักพาดเกาะตามสิ่งที่อยู่ใกล้กับลำต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยเป็นพรรณไม้ที่ชอบแสงแดด ทนทานต่ออากาศร้อน ฝน และดินเค็มได้ดี พบขึ้นได้ตามป่าโปร่งทางภาคอีสานและทางภาคเหนือจะนิยมปลูกต้นครามกันไว้เพื่อใช้สำหรับทำสีย้อมผ้า และมักขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไปตามสวน
ใบ :-  
ใบมีลักษณะคล้ายกับใบก้างปลาแต่จะมีขนาดเล็กกว่า[1] โดยใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน หรือเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียวมีลักษณะบาง
ดอก :-  
ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ดอกย่อยมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว ดอกย่อยมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่วอาจมีสีชมพู สีแสด สีม่วงหรือสีขาว กลีบดอกเป็นสีม่วงแกมสีน้ำตาลหรือเป็นสีชมพูและเป็นสีเขียวอ่อนแกม
ผล :-  
เป็นฝักขนาดเล็กออกเป็นกระจุก มีเมล็ดภายในคล้ายฝักถั่วเขียวยาว 1 - 3.5 เซนติเมตร ภายในมีประมาณ 6 - 12 เมล็ด เมล็ดสีครีมอมสีเหลืองขนาดเล็ก
ส่วนที่ให้สี :-  
คือ ใบ  
สีที่ได้ :-  
สีน้ำเงิน  
วิธีการย้อมสี :-